การพัฒนาซอฟต์แวร์ เขียนโปรแกรม จัดทำข้อมูล และวิจัย

Tag Archives: การพัฒนาซอฟต์แวร์

การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

ความจริงแล้ว การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ประเทศไทยยังต้องปรับปรุงศักยภาพของซอฟต์แวร์อีกมากจึงจะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ปัญหาและอุปสรรคที่เห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน ได้แก่ปัญหาด้านการตลาด ปัญหาด้านการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และปัญหาด้านคุณภาพ 1. ปัญหาด้านการตลาด บริษัทซอฟต์แวร์ไทยประสบปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เช่นเดียวกับบริษัทซอฟต์แวร์ทั่วโลกคือ หลังจากลงทุนมหาศาลในการผลิตซอฟต์แวร์ แต่เมื่อนำออกจำหน่าย ก็ถูกลอกเลียนแบบด้วยการอัดสำเนา และจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าต้นแบบถึง ๑๐ เท่า ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นแบบจำหน่ายได้น้อย ผู้ผลิตจึงขาดทุน 2. ปัญหาด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่คนไทยได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานโดยใช้ภาษาไทยได้ เช่น อ่านออกเขียนและตรวจไวยากรณ์ได้ ฟังรู้เรื่อง พูดเป็นฯลฯ แต่การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้เป็นเรื่องที่ยาก จึงต้องอาศัยการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมาสนับสนุน นักวิจัยหลายร้อยคนต้องค้นคว้าทดลองนานนับสิบปี จึงจะสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ฟังพูด และเขียนภาษาอังกฤษได้สำเร็จ แต่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในเรื่องเหล่านี้ของไทยมีอยู่น้อยมาก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเพิ่มทรัพยากรมนุษย์ในส่วนนี้ 3. ปัญหาด้านคุณภาพ ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาโดยคนไทยจะมีความแตกต่างด้านคุณภาพ ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะประสบปัญหาในเรื่องการประเมินคุณภาพของซอฟต์แวร์ กล่าวคือ เมื่อขาดการประเมินคุณภาพที่ดี คนไทยก็จะไปนิยมซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ เพราะไม่เชื่อถือฝีมือคนไทยด้วยกัน ทั้งที่ซอฟต์แวร์ของไทยก็มีคุณภาพดี ในทางกลับกัน เมื่อมีซอฟต์แวร์ที่ด้อยคุณภาพ ผู้พัฒนาก็ไม่ทราบจุดบกพร่อง จึงไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพให้ดีเท่าที่ควร สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ซอฟต์แวร์ของไทยขาดคุณภาพ ได้แก่ การขาดการบริหารโครงการที่ดีการขาดบุคลากรที่มีทักษะทันสมัยในด้านการพัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์ การขาดวิธีการกำหนดคุณลักษณะซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม ฯลฯ หากจะมีการเพิ่มคุณภาพของซอฟต์แวร์ไทย […]

การพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมอินเตอร์เน็ตให้ทันสมัยในปัจจุบัน

การพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ มีขั้นตอนกว้าง ๆ อยู่ 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาความต้องการ สมมุติว่าเราต้องการพัฒนาโปรแกรมสำหรับช่วยคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือ ภ.ง.ด. 91 เราจำเป็นจะต้องกำหนดความชัดเจนของเราก่อนว่า ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้บ้าง เช่น ต้องการให้คอมพิวเตอร์คำนวณภาษีสำหรับเจ้าของรายได้ เมื่อแยกยื่นภาษีกับผู้สมรส หรือจะให้สามารถรวมภาษีรวมได้ เราต้องการให้ซอฟต์แวร์พิมพ์ตัวเลขต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษีออกมาให้เรานำไปเขียนกรอกในแบบฟอร์ม หรือเราต้องการให้ซอฟต์แวร์สามารถพิมพ์แบบฟอร์มได้เองโดยอัตโนมัติ รายละเอียดเหล่านี้เราต้องศึกษาให้พร้อม อนึ่ง เราต้องศึกษาขั้นตอนการคิดเงินภาษีด้วยว่ามีอะไรบ้างจะต้องทำขั้นตอนไหนก่อนหลัง แต่ละขั้นตอนมีการใช้สูตรอะไรบ้างออกแบบโปรแกรมเมื่อทราบความต้องการแล้ว ต่อมาจะต้องออกแบบโปรแกรมว่าจะ ให้แสดงข้อความอะไรบนจอภาพบ้าง รายการหลักหรือเมนูที่จะให้ปรากฏหน้าจอจะมีข้อความอย่างไร จะใช้วิธีเลือกรายการอย่างไร โปรกแกรมจะต้องมีกี่ส่วน จะต้องพิมพ์รายงานอะไรบ้าง จะเก็บข้อมูลอะไรไว้บ้าง การเขียนโปรแกรมหลังจากออกแบบเค้าโครงออกโปรแกรมแล้ว เราสามารถเลือกเขียน ภาษาคอมพิวเตอร์แบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งเราถนัดและมีตัวแปลรักษาอยู่แล้ว ภาษาอยู่แล้วมาใช้ในการเขียนโปรแกรมทดสอบโปรแกรม เมื่อเราเขียนโปรแกรมเสร็จก็จะต้องทดสอบว่า โปรแกรมที่จะทำขึ้น นั้นสามารถทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ วิธีทดสอบนั้นเราจะจัดเตรียมข้อมูล ทดสอบเอาไว้ล่วงหน้า โดยข้อมูลทดสอบนั้นจะเป็นข้อมูลพิเศษที่เรารู้คำตอบล่วงหน้าแล้ว เมื่อนำข้อมูลนี้ไปใช้กับโปรแกรมที่จัดทำขึ้น เราก็มุ่งหวังที่จะได้คำตอบตรงกับคำตอบที่คิดไว้แล้ว หากไม่ตรงก็อาจเป็นก็เพราะมีสิ่งที่ผิดในโปรแกรม ถ้าเป็นเช่นนั้น นักโปรแกรมก็จะพิจารณาตรวจหาสิ่งผิดพลาดในโปรแกรม เพื่อแก้ไขและนำโปรแกรมนั้นมาทดสอบอีก จนกว่าจะเห็นว่าโปรแกรมทำงานได้ถูกต้องครบถ้วน การค้นหาที่ผิดนี้นิยมเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Debugging เมื่อได้จัดทำโปรแกรมขึ้นมาถึง 4 ขั้น […]