การพัฒนาซอฟต์แวร์ เขียนโปรแกรม จัดทำข้อมูล และวิจัย

Tag Archives: ซอฟต์แวร์

กระบวนการพัฒนา Softwar

กระบวนการพัฒนา Software หมายถึงโครงสร้างหรือขั้นตอนในการพัฒนา Software ซึ่งมีคำเหมือนและคำคล้ายคือ Software life cycle และ Software process ซึ่งกระบวนการพัฒนา Software ที่กล่าวถึงในที่นี้จะมีหลายรูปแบบ (model) ด้วยกัน ซึ่งในแต่ละรูปแบบนั้นจะอธิบายถึงวิธีการหรือกลุ่มของกิจกรรมที่เป็นขั้นตอนในระหว่างของการพัฒนา Software กระบวนการพัฒนา Software นั้นจะประกอบด้วยหลายกิจกรรมซึ่งอาจแสดงได้ดังต่อไปนี้ Conception คือการกำหนดถึงเป้าหมายและสิ่งที่ต้องการของธุรกิจในการพัฒนา Software Requirements Analysis คือการระบุถึงความต้องการของผู้ใช้งานต่อการทำการพัฒนา Software ซึ่งการกำหนดความต้องการของผู้ใช้งานบางอย่างนั้นอาจมีความจำเป็นต้องใช้ทักษะและความสามารถในการพัฒนา Software อย่างมาก Specification คือการกำหนดความต้องการของผู้ใช้งานในขั้นตอน Requirements Analysis ลงในรูปแบบที่สามารถอธิบายได้ ซึ่งอาจเป็นภาษาทางคณิตศาสตร์หรือ Programming language ก็ได้ Software Architecture เป็นขั้นตอนการสร้างแบบจำลองของ Software ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็น Software ที่จะทำการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดนส่วนมาก ขั้นตอนนี้จะเป็นการยืนยันว่าการพัฒนา Software เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ บางครั้งอาจรวมไปถึงการกำหนดความต้องการของผู้ใช้งานในอนาคต (Future requirements) รวมถึงการเชื่อมโยง […]

การเขียนเขียนคุณลักษณะซอฟต์แวร์

คุณลักษณะซอฟต์แวร์ (Software Specification) เป็นข้อกำหนดลักษณะหน้าที่ และวิธีการทำงานของซอฟต์แวร์ว่า ซอฟต์แวร์นี้ต้องทำอะไรบ้าง จึงจะสนองความต้องการของผู้ใช้ เช่น จะต้องใช้ข้อมูลอะไร จะจัดเก็บข้อมูลอะไร จะผลิตหรือประมวลผลข้อมูลอะไร ลักษณะของข้อมูลเป็นอย่างไร มีขอบเขตข้อจำกัดอะไร ฯลฯ การกำหนดคุณลักษณะซอฟต์แวร์สามารถ ทำได้หลายวิธี เช่น สอบถามผู้ใช้โดยตรงว่า ต้องการให้ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่อะไรบ้าง การสอบถามต้องมีเทคนิคในการสื่อสารที่ดี โดยอาจจะมีการยกตัวอย่างสภาพการณ์ (scenario-based requirement analysis) ในแนวว่า “ถ้า (สถานการณ์) เกิดขึ้น จะทำอย่างไร” เช่น ถ้าโจทย์คือ การจัดการพัสดุของร้านค้า นักวิเคราะห์ระบบอาจถามว่า “ถ้าสินค้าที่สั่งซื้อไม่มาส่งตามกำหนด ทางร้านจะทราบได้เมื่อใด และจะดำเนินการอย่างไร” ศึกษาวิธีการดำเนินงานตามปกติก่อนนำคอมพิวเตอร์มาใช้ และหาจุดอ่อนที่จะต้องนำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สำรวจความต้องการของตลาดว่า คนส่วนใหญ่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านใด ในลักษณะใด และต้องการความบันเทิงจากคอมพิวเตอร์อย่างไร ฯลฯ ศึกษาจากลักษณะของซอฟต์แวร์เก่าที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้ว ฯลฯ สรุปผลการวิเคราะห์ข้อกำหนดลักษณะของซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น ๓ รูปแบบ คือ รูปแบบข้อมูล รูปแบบหน้าที่งาน และรูปแบบการทำงาน วิธีการนำเสนออาจแสดงเป็นแผนผังแบบต่างๆ เช่น […]

การใช้ซอฟต์แวร์ในภาคอุตสาหกรรมการศึกษา

การศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถผลิตบุคลากรได้ตรงความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างไม่เพียงพอ อาจสืบเนื่องมาจากอาจารย์ผู้สอนนั้นยังขาดประสบการณ์ในการทำงานด้านซอฟต์แวร์ในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งการพัฒนาซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรมไอทีนั้นค่อนข้างหลากหลาย อาจารย์ผู้สอนไม่สามารถให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญในทุกๆซอฟต์แวร์ได้ เนื่องจากเวลาที่จำกัดในกาศึกษา และจำนวนบุคลากรผู้สอน ซึ่งตัวซอฟต์แวร์ที่นักศึกษาได้เรียนรู้และมีความเชี่ยวชาญนั้น อาจไม่ตรงกับความต้องการของบริษัท อีกทั้งงานด้านซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่นั้นมีการกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯและเขตปริมณฑลเป็นส่วนมาก ซึ่งบุคลากรด้านซอฟต์แวร์บางกลุ่มไม่สามารถย้ายถิ่นฐานได้ ปัจจุบันพบว่าทุกระดับการศึกษามีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์อยู่ 3 ด้าน คือ งบประมาณ การพัฒนาเนื้อหา และบุคลากร ซึ่งปัญหาเหล่านี้ จะส่งผลต่อการพัฒนาระบบการศึกษาไทยในอนาคต ซึ่งภาครัฐควรเพิ่มงบประมาณที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนการศึกษาไทย โดยใช้กลยุทธ์ที่คำนึงถึงทรัพยากรภายในประเทศ เพื่อลดงบประมาณการซื้อซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้าง แพลตฟอร์มข้อมูล และประยุกต์ใช้ผ่านรูปแบบแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อขยายการเข้าถึงของผู้ใช้งานได้มากขึ้นภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด การศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาในภาพกว้างในเชิงมูลค่าหรือขนาดของตลาด ไม่มีการศึกษาเชิงลึกที่จะให้ข้อมูลเพียงพอต่อการวางกลยุทธ์หรือทำให้เข้าใจอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ส่งผลให้ความเข้าใจในตัวอุตสาหกรรมมีอย่างจำกัด ความขาดแคลนข้อมูลยังทำให้ประเทศขาดโอกาสด้านการลงทุนจากต่างชาติอีกด้วย ด้วยตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าวจึงได้จัดให้มีโครงการศึกษาศักยภาพของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญอันที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ยิ่งขึ้น ซอฟต์แวร์ด้านการบริหารจัดการที่มีการใช้งานน้อยแต่มีความต้องการสูงสำหรับสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ระบบบัญชีและการเงิน ระบบวิชาการและหลักสูตร ระบบจัดซื้อจัดจ้าง ระบบจัดการเอกสาร ระบบบริหารงานบุคคล ระบบเงินเดือน ระบบตารางสอน และระบบงานปกครอง ระบบบริหารจัดการและบริการเซิร์ฟเวอร์ ระบบบริหารจัดการ e-learning โปรแกรมพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และโปรแกรมสื่อการสอน ส่วนในระดับอาชีวะศึกษาซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานน้อยแต่มีความต้องการสูง ได้แก่ ระบบจัดซื้อจัดจ้าง และโปรแกรมการพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาไม่มีซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานน้อยแต่มีความต้องการสูงปรากฏ ดังนั้นซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ไม่มีการใช้งานว่าเกิดจากสาเหตุใดในการสำรวจครั้งต่อไป

การพัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้สร้างสรรค์งาน

การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์ ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฏชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคา ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวทำงานได้หลายประเภทเพราะว่ามีการพัฒนาพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ย่างหลากหลายและซับซ้อน หน่วยงานต่าง ๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านคำนวณ การพิมพ์เอกสาร การจัดเก็บข้อมูลประเภทต่าง ๆ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่ทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีความสำคัญมากและเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการจัดการสารสนเทศให้เป็นไปได้ตามที่ต้องการ การที่มนุษย์พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาได้ต้องมีภาษาเป็นสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและ ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง ซอฟต์แวร์ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น ชนิดของซอฟต์แวร์ ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ […]