Tag Archives: ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ สำหรับการพัฒนาโปรแกรมให้มีคุณภาพ
ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่มนุษย์เขียนขึ้นเพื่อสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีมากมาย แต่ละภาษาจะมีลักษณะโครงสร้างและกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ได้ 3 ระดับคือ 1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาเครื่องเป็นภาษารหัสตัวเลข ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ ต้องเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาที่คนทำความเข้าใจยาก นอกจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องยังใช้รหัสเลขที่ต่างกันด้วย ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาเครื่องจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมักจะเกิดความผิดพลาดเสมอ แต่ก็เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและทำงานได้อย่างง่ายดาย 2. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก จึงเรียกได้ว่าเป็นภาษาอิงเครื่อง (Machine Oriented Language) เป็นภาษาที่ใช้รหัสตัวเลขประกอบกับอักขระภาษาอังกฤษด้วย เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ภาษาระดับต่ำนี้ เขียนได้ง่ายขึ้น แต่ภาษาแอสเซมบลี นี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจภาษาได้โดยตรง เวลาใช้งานจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมแปลภาษาเอสเซมเบลอ (Assembler Programme) และโปรแกรมเอสแซมเบลอที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ไม่ได้ 3. ภาษาระดับสูง (High Level Language) ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่อำนวยความสะดวก […]
การพัฒนาโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการแก้ปัญหา
การให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาต่างๆให้เรา เราจะต้องมีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่เหมาะสมให้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยกำหนดขอบเขตของปัญหา กำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร ตัวแปรค่าคงที่ที่ต้องใช้เป้นลักษณะใด ถ้าหากเราไม่กำหนดขอบเขตของปัญหาจะทำให้คอมพิวเตอร์ตัดสินได้ยากว่าข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขั้นนั้นถูกหรือผิด กำหนดลักษณะของข้อมูลเข้าและออกจากระบบโดยต้องรู้ว่าข้อมูลที่จะส่งเข้าไปเป็นอย่างไร เพื่อให้โปรแกรมทำการประมวลผล และแสดงผลลัพธ์โดยคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลักในการออกแบบโปรแกรม กำหนดวิธีการประมวลผลโดยต้องรู้ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลอย่างไร จึงได้ผลลัพธ์ตามต้องการ การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ ซึ่งการบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับระบบงานขนาดใหญ่ ที่มีการแบ่งงานวิเคราะห์ระบบและงานเขียนโปรแกรมออกจากกันนั้น โดยทั่วไปการมอบหมายงานให้นักเขียนโปรแกรม จะเป็นการกำหนดความต้องการของโปรแกรมในภาพรวม แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดขั้นเป็นรหัสลำลองหรือผังงานที่ละเอียด นักเขียนโปรแกรมจึงต้องศึกษาถึงความต้องการของงานที่ได้รับมอบหมาย ข้อมูลนำเข้า ข้อมูลส่งออก และกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดเพื่อพัฒนาขึ้นเป็นขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาซึ่งอยู่ในรูปแบบของผังงานอย่างละเอียด นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับประกันว่าโปรแกรมที่ได้มานั้นจะต้องมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด ระหว่างแต่ละขั้นตอนของการทำงานจะต้องหาข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นได้ และกำจัดออกไปก่อนที่จะก้าวสู้ขั้นตอนถัดไป เพราะข้อบกพร่องมีอยู่ในระบบมากเท่าใด ก็จะทำให้ค่าใช้จ่าย ในการแก้ข้อบกพร่องมีมากขึ้นเท่านั้น และขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการพัฒนาระบบด้วย ว่ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้นนานเท่าไรแล้ว วิธีที่ถูกต้องที่สุดในการนำระบบใหม่มาใช้งานจริงคือยกเลิกระบบเก่าในทันทีแล้วใช้ระบบใหม่เข้าแทนที่ วิธีนี้เสี่ยงในกรณีที่ระบบใหม่มีปัญหา จะไม่มีระบบเก่ามาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อผิดพลาด อีกวิธีหนึ่งในการนำมาใช้งานจริง